การเมืองเรื่องเล่า :
ประชาธิปไตย ๑๗ ปี หาอะไรดีไม่ได้
สำหรับ กลุ่มสุดท้ายที่จัดได้ว่าเป็นพันธมิตรแนวร่วมกับชาว "น้ำเงินแท้" ในการรื้อสร้างการปฏิวัติ ๒๔๗๕ คือ กลุ่มนักหนังสือพิมพ์/นักเขียนสารคดีการเมือง ที่ผลิตงานเขียนเล่าเรื่องทางการเมืองในช่วงนี้จำนวนมาก เช่น เลือดหยดแรกของประชาธิปไตย ของจรูญ กุวานนท์ (๒๔๙๓), ละครการเมือง ของจำลอง อิทธะรงค์ (๒๔๙๒), นักการเมือง สามก๊ก เล่ม ๑-๔ ของ "ฟรีเพรสส์" (๒๔๙๓), พงษาวดารการเมือง ของ "เกียรติ" (สละ ลิขิตกุล) (๒๔๙๓), ปฏิวัติ รัฐประหารและกบฏจลาจลในสมัยประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย ของวิชัย ประสังสิต (๒๔๙๒), แม่ทัพบวรเดช (๒๔๙๒) ค่ายคุมขังนักโทษการเมือง (๒๔๘๘) โศกนาฏกรรมแห่งเกาะเต่า (๒๔๘๙) ของ "ไทยน้อย" (เสลา เรขะรุจิ)๖๙ และ ประชาธิปไตย ๑๗ ปี (๒๔๙๓) ของหลุย คีรีวัต เป็นต้น
งานชิ้นสำคัญของ กลุ่มนี้ คืองานเขียนของหลุย คีรีวัต๗๐ อดีตบรรณาการกรุงเทพเดลิเมล์และอดีตนักโทษการเมืองคดีกบฏบวรเดช ในหนังสือชื่อประชาธิปไตย ๑๗ ปี ที่มองย้อนและประเมินการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ที่ผ่านมา
เขาเริ่มต้นโดยการออกตัวปฏิเสธว่าเขามิใช่นักการเมือง ไม่สังกัดพรรคใด การเขียนหนังสือเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นจุดหมุนการหันกลับไปมอง ประเมินอดีตที่ผ่านมา ๑๗ ปี ของประชาธิปไตยที่ประหนึ่งความเปรียบของเขาที่ว่า "ไม่มีอะไรใหม่ในโลกนี้" เขาเริ่มต้นด้วยการสร้างความเชื่อมต่อของระบอบเก่าและระบอบใหม่ ด้วยการเชิดชูประวัติศาสตร์ และสรรพสิ่งที่ระบอบเก่าได้ยกให้เป็นมรดกแก่ประชาธิปไตย โดยเขายืนยันว่า "ในพิภพนี้ ไม่มีชาติใดประเทศใดที่รักษาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไว้ได้ยั่งยืนเท่ากับ ประเทศไทย และตลอดเวลาที่ประเทศไทยอยู่ระบอบนี้ ก็ได้รักษาความเป็นเอกราชสืบต่อมาไว้ให้เราตราบจนทุกวันนี้"๗๑ เขาย้ำว่า ไม่มีอะไรใหม่ในพิภพนี้ เขาใช้หน้ากระดาษจำนวนมากในการพรรณนาถึงคุณูปการที่ในอดีตที่เหล่ากษัตริย์ ได้พัฒนาประเทศ เช่น การเลิกทาส การรักษาเอกราช ตลอดจนแก้ต่างให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ว่า "พระมหากษัตริย์ทำอะไร คนภายนอกก็รู้เท่าไม่ถึงการ พากันเห็นไปว่าพระองค์ทรงทำเล่นๆ...ดุจเดียวกับที่พระองค์ทรงเล่นดุสิตธานี นั้น...เพราะมีจุดประสงค์จะสอนประชาธิปไตยให้ข้าราชบริพารต่างหาก"๗๒ และในทัศนะของเขานั้น หนังสือพิมพ์ในระบอบเก่ามีเสรีภาพมากกว่าปัจจุบัน (หลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕) เพราะพระมหากษัตริย์ทรงรับฟังเสียงของหนังสือพิมพ์ ซึ่งเขาเรียกว่า "ประชามติ" เขาสรุปว่าเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ในระบอบเก่ามีมากกว่าสมัยประชาธิปไตย๗๓ นอกจากนี้เขาได้แก้ต่างให้ข้อครหาว่า การที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ได้ซื้อกรุงเทพเดลิเมล์ จำนวน ๔๐๐,๐๐๐ บาทนั้น หาได้เกิดจากความเกรงกลัวหนังสือพิมพ์ไม่ แต่ทรงซื้อเพราะเพื่อการตอบแทน เนื่องจากกรุงเทพเดลิเมล์ได้ช่วยลงข่าวต่อต้านเยอรมนีตามพระราชประสงค์จน หนังสือพิมพ์ขาดทุน พระคลังข้างที่จึงมาช่วยซื้อไว้ มิใช่พระองค์ทรงเกรงกลัวหนังสือพิมพ์ตามคำครหา
หลุย คีรีวัต มีความภูมิใจในพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์มาก โดยเขายกพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ที่เคยดำรัสว่า "พระเจ้าแผ่นดินไทยจะทรงบันดาลให้คนเป็นเทวดาก็ได้ จะบันดาลให้เป็นหมาก็ได้"๗๔ และเขาประเมินว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เป็นนักประชาธิปไตย เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ไม่นานก็จะพระราชทานระบอบประชาธิปไตยให้๗๕ ในทัศนะของเขานั้น การดำเนินการต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ในช่วงท้ายระบอบเก่าได้เคลือบประชาธิปไตยไว้จนหมดสิ้นแล้ว เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องทำการปฏิวัติเลย แต่ควรปล่อยให้เป็นไปตามวิวัฒนาการ๗๖
นอกจากนี้เขาได้ดำเนินการ เปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบอบทั้งสองว่า รัฐบาลในระบอบเก่าสั่งการอะไร ราษฎรก็ปฏิบัติตามอย่างไม่เคยต่อล้อต่อเถียงกับพระบรมราชโองการเลย และไม่มีการคอร์รัปชั่น โดยเขายกตัวอย่างการแก้ไขความขาดแคลนข้าวหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ กับการแก้ไขปัญหาความขาดแคลนข้าวในหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ของรัฐบาลสมัยหลวงประดิษฐ์ฯ และหลวงธำรงฯ ที่ไม่สำเร็จและจับคนทำผิดไม่ได้ เขาเปรียบเทียบว่า "นี่คือผลต่างระหว่างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กับประชาธิปไตยและผลที่ ประชาชนได้รับจะเทียบเคียงกันได้ไฉน และที่อวดอ้างว่าเป็นความเลวทราม อ่อนแอของสมบูรณาญาสิทธิ์จึงปฏิวัติกันมานั้น เดี๋ยวนี้พอประจักษ์กันหรือยังว่า ระบอบไหนเลวทรามกว่ากันแน่?"๗๗ เขาเรียกการปกครองหลังการปฏิวัติว่า เป็นสมัยประชาธิปไตยที่หาใช่ประชาธิปไตยไม่ และเป็นระบอบที่สถาปนาโดยพวกขบถ๗๘ เป็นประชาธิปไตยจอมปลอม เขาเห็นว่าหลังการปฏิวัติ เสรีภาพจอมปลอมระบาดไปทั่ว ประชาชนพากันสำลักเสรีภาพที่ฟุ้งเฟ้อขึ้นมาอย่างฉับพลัน คณะราษฎรก็ไม่ระงับความเสื่อมโทรมของศีลธรรมที่เกิดจากเสรีภาพ แต่กลับเพิกเฉยดูดาย เขาเห็นว่าศีลธรรมหลังการปฏิวัติเหมือนกับที่รัสเซีย ซึ่งเลนินได้ทำทุกอย่างให้เป็นของกลาง แม้แต่ผู้หญิงก็ขายประเวณีได้ตามใจชอบ๗๙
เขาชื่นชมกับพระยามโนปกรณ์ นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนแรก ที่ไม่มีความเป็นนักการเมือง สำหรับเขาแล้ว นักการเมืองนั้น หมายถึงคนที่ต้องหมุนรอบ ลิ้นตวัดถึงใบหู หรือเป็นลิ้นทอง ต้องเชิดความไม่จริงได้อย่างช่ำชอง สุดท้ายเขาสรุปว่า พระยามโนปกรณ์ฯ ต่างจากหลวงประดิษฐ์ฯ ซึ่งเป็นนักการเมืองเต็มตัว๘๐ เขาประเมินว่าเป็นการโชคดีที่คณะร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๗๕ ส่วนใหญ่เห็นคล้อยตามพระยามโนปกรณ์ฯ มากกว่าพระยานิติศาสตร์ไพศาลซึ่งเป็นพวกหลวงประดิษฐ์ฯ ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ จึงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้ หาไม่แล้วคงเป็นเรื่องยุ่งอีกนาน๘๑ เขาเห็นว่าการปกครองของคณะราษฎรไม่เป็นประชาธิปไตย ขัดกับเจตนาที่ทรงสละราชสมบัติฯ ที่ทรงหมายสละพระราชอำนาจให้ราษฎรทุกคน โดยเขาได้ใช้พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ในแถลงการณ์สละราชย์เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการวิพากษ์คณะราษฎรเป็น ครั้งแรกว่า "ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจของข้าพเจ้าที่มีอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎร โดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยอมยกอำนาจทั้งหลายให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิ์ขาดและโดยไม่ฟังเสียงโดยแท้จริงของประชาราษฎร"๘๒ สรุปแล้ว เขาเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงเป็นบิดาของประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
เขา ได้มองและประเมินผลงานของคณะราษฎรหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ว่า ได้สร้างแต่ปัญหาและไม่มีผลงานอะไรใหม่ เช่น เขาเห็นว่าการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการหลังการปฏิวัติที่เปลี่ยนจากมณฑล เทศาภิบาลเป็นจังหวัดเป็นผลงานชิ้นโบว์ดำที่สร้างความโกลาหลในการปกครอง และทำให้โจรผู้ร้ายชุกชุมขึ้น๘๓ สำหรับนโยบายต่างประเทศนั้นเขาเห็นว่าหลังการปฏิวัติได้ดำเนินนโยบายต่างไป จากสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ทรงคบมิตรเก่าๆ อย่างชาติตะวันตก การหันเหไปนิยมญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกฯ และหลวงประดิษฐ์ฯ เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศเป็นเหตุให้ประเทศเข้าสู่ "วงฉิบหายในเอเชียอาคเณย์"๘๔ เขาเห็นว่าความเจริญของประเทศเกิดขึ้นจากความรู้ความสามารถของชาวตะวันตกที่ ให้คำปรึกษา และตั้งแต่ไทยมีนโยบายต่างประเทศเข้าใกล้ญี่ปุ่นทำให้ไทยขาดดุลการค้ากับ ญี่ปุ่นมากและไทยก็ยอมเป็นลูกน้องญี่ปุ่นเพื่อขัดกับฝรั่งนั้น เขาสรุปว่าเป็นการดำเนินนโยบายที่เลวทรามที่สุดของประชาธิปไตย๘๕ เขาเห็นว่าการเดินทางไปแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับชาติตะวันตกของหลวง ประดิษฐ์ฯ เป็นงานสามัญธรรมดาและเป็นการท่องเที่ยวเสียมากกว่า เพราะการแก้ไขเหล่านี้เริ่มตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ แล้ว๘๖ อีกทั้งการร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นก็ทำมาตั้งแต่สมัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ แล้วเช่นกัน เขาเห็นว่าไม่มีอะไรใหม่หลังการปฏิวัติ คณะราษฎรเป็นเพียงผู้สานต่อเท่านั้น เขาวิจารณ์ว่าการที่รัฐบาลฟ้องร้องพระคลังข้างที่และยึดพระราชทรัพย์พระบาท สมเด็จพระปกเกล้าฯ นั้นเป็นการทำลายหัวใจของคนทั้งชาติเป็นผลงานที่งามหน้าของพระยาพหลฯ และมันสมองอย่างหลวงประดิษฐ์ฯ ที่ได้รับการเทิดทูนว่าเป็นเชษฐบุรุษ และรัฐบุรษ๘๗
เขาเห็นว่า หลังการปฏิวัติ คณะราษฎรพยายามทำทุกวิถีทางในการทำลายศีลธรรมจรรยาและประเพณีของพลเมืองด้วย การยุแยงตะแคงบอน โดยคณะราษฎรอ้างว่าเมื่อปฏิวัติการเมืองแล้วต้องปฏิวัติทางจิตใจด้วย แต่เขาเห็นว่าเป็นการทำเลียนแบบรัสเซียเพื่อให้ชนชั้นต่ำมาเป็นพวก การแต่งกายนุ่งผ้าม่วงถุงน่องรองเท้าที่เป็นระเบียบเรียบร้อยและอันมีค่า คณะราษฎรก็หาว่าเอามาจากเขมรและอินเดีย แต่กลับอนุญาตให้นุ่งกางเกงจีนและกางเกงขาสั้นใส่รองเท้าแตะไปออฟฟิศกัน ตลอดจนการเปลี่ยนเครื่องแบบทหารที่เคยสง่าภูมิฐานก็ปลดบ่าอินทรธนูลงเป็น เหมือนทหารแดง สำหรับพวกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้นำก็แต่งกายสวมเสื้อคอปิดและนุ่งกางเกงขายาวสี ขาวเหมือนบ๋อยไหหลำ๘๘ เขาเห็นว่าหลังการปฏิวัติได้มีการทำลายความสง่างามของโบราณราชประเพณีที่เคย โอ่โถงมีพิธีรีตองถูกงดลงจนหมดสิ้น ช่วงชั้นของภาษาที่ปฏิบัติกันมานานในการเคารพผู้ใหญ่ก็กลายเป็นฉันและเธอ๘๙
สำหรับ การจัดตั้งมหาวิทยาลัยใหม่หลังการปฏิวัตินั้น เขาเห็นว่ามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองเป็นเสมือนเครื่องจักรในการ ผลิตบัณฑิตเหมือนการผลิตเม็ดยา ไม่มีการกำหนดพื้นความรู้ของผู้เข้าเรียน ขอแต่เพียงมีเงินจ่ายก็สามารถเข้าเรียนได้ เพียงปีเดียวมหาวิทยาลัยก็มีนักศึกษานับหมื่นโดยใช้อาคารสถานที่ดัดแปลงให้ เป็นตึกโดมเหมือนกรุงมอสโก๙๐ ผิดกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีกฎเกณฑ์เลือกเฟ้นผู้เข้าศึกษามากมาย
นอก จากนี้เขาได้กล่าววิจารณ์เค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์ฯ ว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และเห็นว่าการเลือกตั้งครั้งแรกมีแต่ความเหลวแหลก๙๑ ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลของการยกทหารหัวเมืองมา เขาเห็นว่าบทบาทของพวกเขานั้นเป็นการต่อสู้เพื่อ "ฝังหมุดประชาธิปไตย" ที่แท้จริงตามพระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ในแถลงการณ์สละราชสมบัติ อันพวกสะเก็ดนักปฏิวัติทั้งโขยงจะหักล้างมิได้๙๒
สำหรับ เขาแล้ว เขาไม่พอใจกับอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญที่หลักสี่มาก เขาเห็นว่าเป็นอนุสาวรีย์แห่งแรกและแห่งเดียวที่ไม่มีความหมายอะไรที่จะไปจด จำ ซึ่งต่างไปจากอนุสาวรีย์ของกษัตริย์แห่งอื่นๆ เพราะมันเป็นความทรงจำของการรบของชนชาติเดียวกัน ทหารที่ตายก็มิได้แสดงความกล้าหาญแต่ประการใด ซึ่งไม่มีพลังความอันใดเลย นอกจากนี้เขาได้ลดทอนความหมายของอนุสาวรีย์แห่งนี้ด้วยการยกตัวอย่างการ สร้างอนุสาวรีย์ย่าเหลขึ้นเพื่อเชิดชูความกตัญญูขึ้นเทียบเคียง แต่สำหรับอนุสาวรีย์ที่หลักสี่นี้มีความหมายเพียงหลักหมายของสัปปุรุษที่ไป งานวัด เขาเล่าว่าเขาพยายามคิดหาเหตุผลของการมีอยู่ของอนุสาวรีย์นี้หลายตลบก็หามี ความหมายอันใดไม่ เขาท้าว่ามีใครบ้างที่ไปกราบไหว้นอกจากทหารที่ต้องวางพวงมาลาปีละครั้ง ดังนั้นสำหรับเขาแล้ว อนุสาวรีย์แห่งนี้จึงเป็นเพียงการยืนยันถึงความเคียดแค้น และเป็นเพียงสถานที่ที่โจรผู้ร้ายใช้เป็นพื้นที่จี้ปล้นเท่านั้น๙๓
นอก จากนี้สำหรับหมุดคณะราษฎรที่ตอกจารึก ณ ลานพระบรมรูปทรงม้านั้น เขาก็ไม่ชอบใจเช่นกัน เขาบันทึกล้อเลียนข้อความหมุดคณะราษฎรว่า "ในวันนั้นและที่นั้น พันเอก พระยาพหลฯ หัวหน้าขบถได้หลอกลวงทหารเหล่าต่างๆ ในกรุงเทพ ให้มารวมกันและได้ยืนขึ้นประกาศระบอบประชาธิปไตย"๙๔ และสุดท้ายเขาได้ให้ฉายาหัวหน้าคณะราษฎร (พระยาพหลฯ) ว่า "หมูห่มหนังราชสีห์ออกนั่งแท่น"๙๕
นอกจากนี้เขาพยายามแยกสลายการผูก ความหมายของการปฏิวัติไทยกับฝรั่งเศสว่ามีความต่างกันและเขาพยายามจับคู่ ความหมายให้ผิดแผกออกไป เขาเห็นว่า การปฏิวัติฝรั่งเศสนั้นเกิดจากเหล่าอำมาตย์ส่วนใหญ่ในยุคพระเจ้าหลุยส์ได้กด ขี่ประชาชน แต่สำหรับสยามไม่มีอำมาตย์ที่กดขี่ประชาชน ประชาชนสยามอยู่ดีกินดี เคารพพระมหากษัตริย์ มีแต่อำมาตย์ส่วนน้อยเท่านั้นที่เนรคุณขบถต่อพระมหากษัตริย์ และเขาได้เชื่อมโยงอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญนี้ (ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงการปราบปรามฝ่ายต่อต้านระบอบใหม่) เข้ากับการเรียกร้องสิทธิของประชาชน โดยเขาดำเนินการเปรียบว่าอนุสาวรีย์นี้เทียบไม่ได้กับอนุสาวรีย์ที่บาสติ ลหรือเลนินในความหมายของการเรียกร้องสิทธิของประชาชน
อย่างไรก็ตามใน หนังสือเล่มนี้หลุยปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับกบฏบวรเดชว่า คณะของเขา (ซึ่งมีพระยาศราภัยพิพัฒ หลวงมหาสิทธิโวหาร (สอ เสถบุตร) ไม่รู้จักกับพระองค์เจ้าบวรเดช ตราบเท่าทุกวันนี้ (๒๔๙๓) แต่พวกเขากลับถูกคณะราษฎรกล่าวหาว่าไปสมคบคิดกับพระองค์เจ้าบวรเดช๙๖ นั้น ข้อความในลักษณะเช่นนี้ อาจสะท้อนให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือและเจตนารมณ์ที่ซ่อนเร้นในการเคลื่อนไหว ทางการเมืองของชาว "น้ำเงินแท้" ที่เขียนสารคดี "รื้อ" การปฏิวัติ ๒๔๗๕ และคณะราษฎร พร้อมประกาศพวกตนเป็น "นักประชาธิปไตย" ที่ต่อสู้กับคณาธิปไตยนั้น เป็นความพยายามหนึ่งในการรื้อสร้างการปฏิวัติ พร้อมกับการสร้างความหมายใหม่ให้ชาว "น้ำเงินแท้" เป็น "นักประชาธิปไตย" ทั้งนี้การรื้อสร้างความหมายและพยายามอธิบายตนเองใหม่ของชาว "น้ำเงินแท้" เหล่านี้ซึ่งพบได้มากมายในงานของพวกเขา และต่อมาได้ถูกนำไปเป็นแนวทางในการรับรู้อดีตที่กลับหัวกลับหางของคนรุ่น หลังต่อ "วีรกรรม" ของกบฏบวรเดชและชาว "น้ำเงินแท้" เพื่อเปรียบเทียบ "ทุรกรรม" ของคณะราษฎร "เผด็จการคณาธิปไตย" ที่ช่วงชิงพระราชอำนาจไป
๒๔๗๕ กับแรงปฏิวัติที่อ่อนล้า
อย่าง ไรก็ตามไม่ใช่แต่เพียงมีงานรื้อสร้างการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ของชาว "น้ำเงินแท้" แต่เพียงกลุ่มเดียว ในช่วงเวลานั้นยังมีงานเขียนประเภทบันทึกความทรงจำจากเหล่าคณะราษฎรจำนวน หนึ่งที่ได้เขียนหรือให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการปฏิวัติ เช่น เบื้องหลังการปฏิวัติ (มีนาคม ๒๔๙๐) ของกุหลาบ สายประดิษฐ์ ที่สัมภาษณ์พระยาพหลฯ แผนการปฏิวัตรเล่าโดย พล.ต. พระประศาสน์พิทยายุทธ์ ของจำรัส สุขุมวัฒนะ (๒๔๙๑) ที่ได้สัมภาษณ์พระยาประศาสน์พิทยายุทธ์ และชีวิตปฏิวัติ ของขุนศรีศรากร (๒๔๙๓) บันทึกพระยาทรงสุรเดช (๒๔๙๐) ถูกพิมพ์เผยแพร่เช่นกัน
สำหรับหลังปี ๒๕๐๐ แล้ว มีงานชีวิตและการต่อสู้ทางการเมืองพระยาฤทธิอาคเนย์ ของเสทื้อน ศุภโสภณ ที่ได้สัมภาษณ์พระยาฤทธิ์ฯ (๒๕๑๔) จอมพล ป. พิบูลสงคราม ของอนันต์ พิบูลสงคราม (๒๕๑๘-๑๙) ซึ่งเป็นงานเขียนของบุตรชายของเขา อย่างไรก็ตามสาระในงานความทรงจำเหล่านี้ส่วนมากเป็นการบันทึกเหตุการณ์ถึง ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ในการปฏิวัติ และหากจะมีการกล่าวถึง "กบฏบวรเดช" ก็เป็นการเล่าเหตุการณ์มากกว่าการประเมินหรือวิจารณ์อย่างรุนแรงหากเปรียบ เทียบเท่ากับที่ชาว "น้ำเงินแท้" ปฏิบัติต่อการปฏิวัติ ๒๔๗๕
อย่างไร ก็ตามท่ามกลางการหมุนวนของข้อมูลและความหมายจากการรื้อสร้างการปฏิวัติ พร้อมกับขบวนการรื้อสร้างของชาว "น้ำเงินแท้" และพันธมิตรแนวร่วมทวีจำนวนมากขึ้น ในเชิงเปรียบเทียบแล้วงานเขียนรื้อสร้างจากเหล่าชาว "น้ำเงินแท้" นั้นมีลีลาซาบซึ้งกินใจ น่าเห็นอกเห็นใจและมีจำนวนมากกว่างานจากคณะราษฎรมาก แต่คณะราษฎรจำนวนมากที่ยังอยู่ในประเทศกลับเพิกเฉย และค่อยๆ ร่วงโรยจากไปทีละคน (อาจเป็นไปได้ที่พวกเขาสิ้นอำนาจและโครงสร้างและบริบททางการเมืองในขณะนั้น ไม่เอื้อให้พูดอีก) มีแต่เพียงงานเขียนของหลวงประดิษฐ์ฯ (ในขณะนั้นเขาอยู่ที่ฝรั่งเศส) เท่านั้นที่พยายามอธิบายถึงสาเหตุและความหมายของการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ตลอดจนพยายามต่อสู้ในเชิงความหมายกับกระบวนการรื้อสร้างของชาว "น้ำเงินแท้" และกลุ่มพันธมิตรแนวร่วมตราบจนเขาสิ้นชีวิตเมื่อปี ๒๕๒๖
ใน ช่วงหลังปี ๒๕๑๖ มีความพยายามในการรื้อฟื้นภาพลักษณ์ของคณะราษฎรผ่านหลวงประดิษฐ์ฯ จากนิสิตนักศึกษาและกลุ่มของสุพจน์ ด่านตระกูล แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ทุกอย่างก็ปิดฉากลง อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักวิชาการประวัติศาสตร์กลางทศวรรษ ๒๕๒๐ เป็นต้นมา ก็ได้เริ่มผลิตผลงานวิชาการทั้งตำรา วิทยานิพนธ์ และบทความในการประเมินภาพการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ในทางบวกมากขึ้น ตลอดจนการเปิดกว้างของวารสารวิชาการของมหาวิทยาลัยและวารสารกึ่งวิชาการที่ ให้ความสำคัญ กับการทบทวนภาพการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ใหม่ การเคลื่อนไหวทางปัญญาเหล่านี้มีผลในการฟื้นพลังแห่งความหมายของการปฏิวัติ ที่เคยถูกทำลายอย่างมีกระบวนการโดยชาว "น้ำเงินแท้" และพันธมิตรแนวร่วม ให้กลับมีพลังขึ้นมาบ้าง ท่ามกลางความสับสนอลหม่านของระบอบการเมืองไทยในยุคปัจจุบันที่อ้างว่า "ไม่เหมือนใคร" ในระบอบประชาธิปไตยที่ยึดถือกันเป็นสากล แต่ระบอบการเมืองนี้มุ่งแต่จำกัดอำนาจและให้ความสำคัญต่ำกับสถาบันการเมือง ในระบอบประชาธิปไตยที่มาจากประชาชน แต่กลับพยายามเพิ่มอำนาจและเพิ่มความหมายให้กับสถาบันการเมืองอื่นที่มิได้ มาจากการเลือกตั้งให้มากขึ้น จนกลายเป็นระบอบการเมืองกลายพันธุ์
ฝันจริงของชาว "น้ำเงินแท้" และฝันร้ายของคณะราษฎร
กระบวน การรื้อสร้าง ๒๔๗๕ ในงานเขียนของชาว "น้ำเงินแท้" และพันธมิตรแนวร่วมที่ทำดูเสมือน "เป็นเสรีนิยมและประชาธิปไตย" ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน อย่างน้อยเริ่มต้นตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อชาว "น้ำเงินแท้" ได้รับการนิรโทษกรรม เขาเหล่านั้นได้เข้ามามีบทบาททั้งทางการเมือง ปัญญาชน นักหนังสือพิมพ์ นักรัฐประหาร ผนวกกับกลุ่มอื่นๆ ในเวลาต่อมาจนนำไปสู่การพลิกความหมาย (คณะราษฎรกลายเป็นบรรพบุรุษของเผด็จการทหารที่ต้องโค่นล้มพระบาทสมเด็จพระปก เกล้าฯ ความเป็นตัวแทนของความเป็นประชาธิปไตยและอุดมการณ์ของกบฏบวรเดช คือจุดเริ่มต้นของขบวนการประชาธิปไตยในการต่อสู้กับคณาธิปไตยเผด็จการที่ นิสิตนักศึกษาใช้เป็นแบบอย่างและสืบทอดเจตนารมณ์) กลายเป็นพลังในการโค่นล้มรัฐบาลทหารในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ผลพวงจากปฏิบัติการเหล่านี้ได้ก่อตัวและคลี่คลายไปยังความรู้สึกนึกคิดของ ผู้คนที่มองการปฏิวัติและคณะราษฎรในเชิงลบมากขึ้นในเวลาต่อมา๙๗
หาก เราจะแบ่งกลุ่มการร่วมรื้อสร้างแล้ว สามารถแบ่งงานเขียนกว้างๆ ได้ ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มร่วมรื้อสร้างจากเคยได้รับผลร้ายโดยตรง เช่น พวก "รอยัลลิสต์" และพันธมิตรแนวร่วม อาทิ งานเขียนของชาว "น้ำเงินแท้" นักการเมือง นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนสารคดี ที่ผลิตงานเขียนตั้งแต่ปี ๒๔๙๐ และถูกผลิตซ้ำจำนวนมากในช่วงปี ๒๕๑๐ ส่วนกลุ่มที่ ๒ นั้นร่วมรื้อจากแง่มุมวิชาการ ตำรา และวิทยานิพนธ์ทางรัฐศาสตร์ในช่วงทฤษฎีการพัฒนาการเมืองเฟื่องฟู๙๘ และวิทยานิพนธ์ที่ทำในช่วงทศวรรษ ๒๕๑๐-๒๕๒๐ (ที่มองว่าบทบาทของทหารเป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย และตีความว่าคณะราษฎรคือกำเนิดของพลังอำมาตยาธิปไตย) และตำรา๙๙ วิทยานิพนธ์ทางประวัติศาสตร์การเมืองที่ทำในช่วงทศวรรษ ๒๕๑๐-๒๕๒๐ เป็นต้น ตลอดจนการปัดฝุ่นรื้อฟื้นงานเขียนเก่าๆ ทั้งนิยายและสารคดีการเมืองของเหล่าชาว "น้ำเงินแท้" ที่เคยพิมพ์เผยแพร่เมื่อครั้งปี ๒๔๙๐ นั้นออกมาผลิตพิมพ์ซ้ำโดยเฉพาะอย่างในช่วงทศวรรษ ๒๕๑๐ อย่างมากมาย๑๐๐ ตลอดจนงานเขียนทั้งความทรงจำและบทความทางการเมือง นิยาย อีกทั้งงานวิจัย วิทยานิพนธ์จำนวนมากมายมหาศาลที่ล้วนมองและประเมินการปฏิวัติและบทบาทของคณะ ราษฎรในแง่ลบและเป็นผู้ทำลายประชาธิปไตย
นอกจากนี้ความไม่ตระหนักใน การรื้อสร้าง ๒๔๗๕ จากชาว "น้ำเงินแท้" ของคณะราษฎร๑๐๑ ตลอดจนการหมดสิ้นอำนาจของคณะราษฎร มีผลให้กระบวนการบ่อนเซาะความชอบธรรมของการปฏิวัติ ๒๔๗๕ จากชาว "น้ำเงินแท้" ได้วางรากฐานให้กับระบอบการเมืองกลายพันธุ์ในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามกว่าจะมีการตระหนักรู้ถึงกระบวนการรื้อสร้างนั้น อาการหมดสิ้นความหมายก็เข้ารุมเร้าการปฏิวัติ ๒๔๗๕ และคณะราษฎรจนแทบกู้เกียรติและกู้ระบอบไม่ขึ้น การรื้อสร้างจากการเมืองเรื่องเล่าเหล่านี้ได้รื้อสร้างความหมายเดิมและ สร้างความหมายใหม่ในลักษณะกลับหัวกลับหาง อันเป็นรากฐานของความคิดในการร่างรัฐธรรมนูญและความรู้สึกนึกคิดของผู้คนที่ นำไปสู่ระบอบการเมืองกลายพันธุ์
ตลอดจนการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ได้สูญเสียสถานะ ความหมาย และความชอบธรรมในความรับรู้และความทรงจำของผู้คนอันนำไปสู่เรื่องเล่าอื่น ที่เป็นอภิมหาอรรถกถาครอบจักรวาลที่ทำให้สรรพสิ่งในระบอบนี้ล้วนมีผู้ครอบ ครองมาก่อน ซึ่งหาใช่โลกของคนสามัญธรรมดาตามระบอบประชาธิปไตยไม่
ขอบคุณ รศ.ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ครูที่สอนให้ข้าพเจ้ารู้ว่าการได้คิดเป็นภาวะบรรเจิดเพียงใด ผศ.ดร.พิษณุ สุนทรารักษ์ ที่ให้ความกรุณาทุกครั้งกับศิษย์คนนี้ และ ศ.ดร.อนุสรณ์ ลิ่มมณี ผู้ที่ทำให้ห้องเรียนกลายเป็นที่คุ้นเคยอีกครั้ง ขอบคุณสำหรับคำพร่ำสอนที่ไม่รู้เหน็ดเหนื่อยที่ให้กับข้าพเจ้าของ ดร.เกษม เพ็ญภินันท์ และอาจารย์ศิวะพล ละอองสกุล ตลอดจนกับ ผศ.ร.ท.เทอดสกุล ยุญชานนท์ และ รศ.วีณา เอี่ยมประไพ ที่ให้ความเมตตาข้าพเจ้าเสมอมา ขอบคุณคุณสุพจน์ แจ้งเร็ว ที่กระตุ้นให้ข้าพเจ้าล้วงลงไปควานหาความรู้สึกที่มีต่อระบอบการปกครองร่วม สมัย ขอบคุณนักวิชาการและผู้รักในความรู้ทุกคนที่บุกเบิกให้การปฏิวัติ ๒๔๗๕ เปล่งประกายความหมายอีกครั้ง และมิตรภาพของจีรพล เกตุจุมพล ทวีศักดิ์ เผือกสม และธนาพล อิ๋วสกุล ที่มอบให้ข้าพเจ้า ขอบคุณแม่ของข้าพเจ้าที่ทำให้ข้าพเจ้ารู้ว่ารักของแม่ยิ่งใหญ่เสมอ
และ สุดท้าย พีรญา มานะสมบูรณ์ ผู้ที่เป็นกำลังใจให้ข้าพเจ้า หากบทความนี้มีประโยชน์อยู่บ้างขอเป็นส่วนหนึ่งในความทรงจำที่มีถึงจิตใจที่ กล้าหาญของคณะราษฎรที่หาญกล้านำการปฏิวัติในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เพื่อนำแสงสว่างแห่งระบอบใหม่มาให้คนไทยทุกคน แม้ว่าชื่อและวีรกรรมของพวกเขาจะถูกลบเลือนไปกับมรสุมการเมือง
ณัฐพล ใจจริง
ปัญหารัฐธรรมนูญ๒๕๕๐: นิยายและความจริง ในภาพสะท้อนเราใกล้ชิดเส้นชัย
ปัญหา การแก้ไขรัฐธรรมนูญและเส้นแบ่งดินแดนของม็อบมีเส้น โดยพันธมิตรฯต่อกรณีเขาพระวิหารในรัฐธรรมนูญใกล้เหมือนกับการอ่านนิยาย เรื่อง“ม็อบมีเส้น” ทำให้บทอดีตผู้ช่วยพระเอกของอภิสิทธิ์ กลายเป็นบทผู้ร้าย สำหรับผู้ติดตามอ่านนิยายอย่างใกล้ชิดเพื่อรู้จุดจบของนิยายน้ำเน่า แล้วเราใกล้ชิดเส้นชัยของรัฐธรรมนูญประชาชน ที่แท้จริง
โดย อรรคพล สาตุ้ม
ผู้ เขียนทำบทความนี้ เพื่อรำลึกถึงวันที่ 10 ธันวา เป็นวันรัฐธรรมนูญ ที่มีการเชื่อมโยงตรงกับวันสิทธิมนุษยชนสากล และครบรอบ 8 เดือนการสลายชุมนุมนองเลือด
ซึ่งเราใกล้วันปีใหม่ 2554/2011 โดยผู้เขียนต้องการอธิบายย่นย่อ ในบทความเกี่ยวโยงปัญหารัฐธรรมนูญ๒๕๕๐: นิยายและความจริง ในภาพสะท้อนเราใกล้ชิดเส้นชัย โดย“ม็อบมีเส้น” เป็นปมปัญหาเส้นจุดจบใกล้เส้นตายของรัฐธรรมนูญ (ไม่ใช่แข่งกีฬาสีเพื่อชัยชนะหรือ win-win)
เมื่อผู้เขียน ชี้ให้เห็นถึงจุดหมายของเรา(ฝ่ายประชาธิปไตย) เมื่อความจริง กับเราใกล้วันปีใหม่ หรือเราใกล้ชิดเส้นชัย สู่ทางออกจากปัญหา?
ซึ่งเรามองปฏิทิน ก็ใกล้วันปีใหม่ แต่เรายังไม่มีทางออกจากปัญหาสู่เส้นชัย
และ ถ้าเรามองม็อบมีเส้นจากมุมมองขององค์ประกอบศิลปะ “เส้น” คือ ร่องรอยการเคลื่อนที่รวมตัวของจุด หลายจุดรวมตัวกัน และม็อบมีเส้น คือ คนจำนวนหนึ่งมารวมตัวกัน ก็เราดูม็อบมีเส้น ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ เกิดจากพรรคประชาธิปัตย์โดยอภิสิทธิ์ จากบทผู้ช่วยพระเอก กลายเป็นบทผู้ร้าย ซึ่งร่วมกับพรรคร่วมรัฐบาล โดยทหารเป็นผู้ช่วย เกิดสลับตำแน่งบทบาท ในมุมมองของม็อบมีเส้น ที่คิดว่าตัวเอง ดูเหมือนพระเอก พิทักษ์ปกป้องนางเอก คือ รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ อย่างใกล้ชิด แล้วเรียกร้องทหารเป็นผู้ช่วย ให้มาปฏิวัติ หรือรัฐประหาร กลายเป็น “ฆ่า”นางเอก คือ รัฐธรรมนูญ
โดยถ้าทุกคนพร้อมใจ “อ่าน”นิยายรัฐธรรมนูญ และสนับสนุนเป็นแบบนี้ จะทำให้เส้นทางประชาธิปไตยหายไป แต่ว่าถ้าทุกคนเปลี่ยนมองมุมกลับกัน เหมือนรออ่านเรื่องความจริงของรัฐธรรมนูญสู่เส้นชัย
ประวัติศาสตร์ของรัฐธรรมนูญ กับปัญหารัฐธรรมนูญ ปี 2550 เหมือนนิยาย และความจริง
นับ ตั้งแต่ประเทศไทย เปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตยโดยเกิดรัฐธรรมนูญขึ้นมา ก็มีการต่อสู้และโค่นล้มรัฐธรรมนูญเดิมบ่อยครั้ง เป็นต้นมา โดยการเขียนรัฐธรรมนูญ เหมือนเขียนนิยาย
และเราเอ่ยถึงนิยายนั้น ก็ทำให้เราเห็นว่า นิยายใกล้ชิดต่ออารมณ์ และความรู้สึกเป็นเรื่องที่ยากแก่การพิสูจน์ ว่าถูกต้อง ในการอ่านนิยาย แต่ละเล่มนั้น ซึ่งไม่ใช่อ่านตามใจอย่างเดียว และราษฎรตามใจรัฐประหารโดยทหาร ซึ่งเราเห็นประวัติศาสตร์ของรัฐธรรมนูญ จากบางปัญหาของรัฐธรรมนูญ เหมือนนิยาย(1)
จากยุคสมัยคณะราษฎร คือ กรณีตัวย่างของปรีดี มาจอมพล ป.พิบูลสงคราม โดยนักวิชาการประวัติศาสตร์ชาวต่างประเทศ ก็เขียนอธิบายช่วงประวัติศาสตร์เหตุการณ์บริบทดังกล่าว
ซึ่งจอมพล ป.พิบูลสงคราม เขียนรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดการยอมรับจากนานาประเทศ ถ้าเราดูจากบริบทของประวัติศาสตร์ของไทย หรือกรณีการกล่าวถึงระบอบรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2492 โดยเกี่ยวข้องนายควง อภัยวงศ์ ซึ่งต่อมาก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์
จนกระทั่งต่อมา ในปี 2549 ซึ่งเรารับรู้ว่า ความเป็นมาของม็อบมีเส้น คือ ม็อบพันธมิตรฯ และเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยา 2549 โดยรัฐธรรมนูญถูกฉีกทิ้งโดยรัฐบาลเผด็จการทหารของไทย และรัฐบาลดังกล่าว ก็มีแผนเขียนนิยายรัฐธรรมนูญ โดยกลุ่มทหาร ทำให้เกิดรัฐธรรมนูญเฉพาะกาล และสร้างความประทับใจประกาศเรื่องภัยคุกคามร้ายแรงต่อระบบประชาธิปไตยจาก รัฐบาลของทักษิณ(2)
ถ้าเราจำกันได้ ตัวละครในการเขียนนิยายรัฐธรรมนูญ ก็มีตัวละครเป็นพวกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
นี่ เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เพื่อทำให้ตัวละครอย่างทักษิณ เป็นผู้ร้าย และภัยคุกคาม จึงต้องเขียนรัฐธรรมนูญ สร้างรัฐธรรมนูญให้เกิดองค์ประกอบของมาตรา และรายละเอียดกัน เพราะว่า นี่เป็นวิธีการสร้างความชอบธรรมของการรัฐประหาร เพื่อกำจัดผู้ร้าย และสร้างความเป็นพระเอกของทหาร โดยการใช้วิธีการลงประชามติต่อรัฐธรรมนูญ
เมื่อ ประชามติ โดยเอาประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของตัวละครในนิยายรัฐธรรมนูญ ก็ทำให้ประชาชน เป็นตัวละครไม่อ่านเรื่องรัฐธรรมนูญ โดยไม่ต้องยุ่งการเมือง โดยการอภิปรายประเด็นที่ซับซ้อน ก็ถูกลืมไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ง่ายที่สุดของเผด็จการทหาร ซึ่งเราคิดถึงจินตนาการในการใช้ประชามติ
เหมือนเรื่องเล่าในนิยาย ที่มีเผด็จการทหารขึ้นมา มีอำนาจให้คนลงประชามติ แล้วทั้งหมดต่อมา ก็อันตรายมากที่สุดจากบทเรียนของนิยาย หรือเราสามารถสำรวจบทเรียนจากประเทศต่างๆ ที่มีการใช้ประชามติ เหมือนเรื่องเล่าในนิยายนั่นเอง
ฉะนั้น เราอาจจะตีความโดยแปล Fictions คือ เรื่องโกหก หรือนิยาย โดยการแปลความเรื่องนิยาย ซึ่งตามใจของตัวเอง กลายเป็นFact คือ ข้อเท็จจริง และประวัติศาสตร์อันเป็นความจริงบิดเบี้ยวของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ เหมือนถ้าเราส่องกระจกดูภาพสะท้อนของเราเองในกระจก(In The Mirror) ก็บิดเบี้ยวเพี้ยนไป
แต่ถ้าเรามองประวัติศาสตร์เป็นโครงเรื่องอย่าง นักประวัติศาสตร์หลายๆ คน ที่มีการนำเสนอเรื่องโครงเรื่องในประวัติศาสตร์ ก็เหมือนนิยาย และผู้เขียนนำเสนอว่า รัฐธรรมนูญใกล้เหมือนการอ่านนิยาย
จึง จะเห็นการเชื่อมโยงต่อกันเป็นจินตนาการ ให้เกิดภาพของความคิด ความเชื่อ ใกล้ชิดในม็อบพันธมิตรฯ จากการอ่าน และปลุกระดมของคนในม็อบ ทำให้บทบาทของม็อบพันธมิตร เหมือนผู้อ่านนิยายประวัติศาสตร์ และอ่านนิยายเรื่องแต่งเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ(3)
ซึ่งเรามีจินตนาการ เหมือนอ่านนิยายได้ ซึ่งเรารักประเทศไทย(We love Thailand)เพียงเราต้องไม่ลืมความจริง ก็คือ เราอยู่มีความสุข ที่ได้เลือกทำสิ่งที่ถูกต้อง ในโลกแห่งความจริง
จนกระทั่ง ม็อบพันธมิตรอยากเป็นคนดี หรือพระเอก โดยไม่รู้ตัวเองหลงผิด เป็นผู้มีรักอย่างตาบอดหูหนวก ถ้าเราคิดจินตนาการว่า “พระเอก”พิทักษ์ปกป้องนางเอก คือ รัฐธรรมนูญ๒๕๕๐ เพราะว่า เรื่องแต่งของนิยาย ทำให้เกิดจินตนาการ ความเชื่อ ในภาพสะท้อนเรารักรัฐธรรมนูญ
เหมือนเรารักนิยาย และเสพติดนิยายว่ามีอยู่ในโลกของโครงเรื่องให้ความบันเทิง สนุก ใกล้ชิดเชิงอารมณ์เป็นความน่าตื่นเต้นของหัวใจ มากกว่าความจริง คือ ข้อเท็จจริงตามประวัติศาสตร์ และข้อเท็จจริงจากรัฐธรรมนูญ โดยม็อบมีเส้นอย่างพันธมิตรอยากเป็นพระเอก ใช้ชีวิตพิทักษ์ปกป้องรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ในความจริง!
รัฐธรรมนูญกับปัญหาเขตแดน ใกล้เหมือนการอ่านนิยายตอนจบโดยม็อบมีเส้นกับทหาร
รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ กับปัญหาของเขตแดน มีทีมาจากรากของชุมชนจินตกรรม หรือจินตนาการความใกล้ชิดเชื่อมโยงเขตแดนของความเชื่อ
ตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการสร้างเขตแดนเป็นแผนที่ของสยาม ดังกล่าว ซึ่งผู้เขียนเคยเขียนไว้แล้ว รวมทั้งงานเขียนเรื่องสัญลักษณ์ของเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ที่มีตราสัญลักษณ์เป็นเครื่องหมายประทับเครื่องแบบของทหาร สื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ คล้ายความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระห้อยคอของคน ทำให้จิตวิญญาณถูกเชื่อมโยงจินตนาการรักชาติ และรักรัฐธรรมนูญ ผ่านเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
จากยุคคณะราษฎร ต่อมาสฤษดิ์ ยุคพ่อขุนอุปถัมภ์เผด็จการ ซึ่งมีปัญหาเขตแดนเขาพระวิหาร อีกทั้งปัญหาเขตแดนของไทย-กัมพูชา และปราสาทเขาพระวิหาร การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนับตั้งแต่ยุค 14 ตุลา 16-6 ตุลา 19 และหลังพฤษภา35 ยังมีทีมาใกล้ชิดผูกพันต่อพรรคประชาธิปัตย์ จากปี2543 และต่อมาสมัยทักษิณ-หลังรัฐประหารของรัฐบาลสุรยุทธ์-สมัคร เป็นต้นมา
กระนั้น สมัยรัฐบาลสมัคร ตำแหน่งเป็นฝ่ายค้าน คือ ประชาธิปัตย์ หรืออภิสิทธิ์ และตอนนั้นอภิสิทธิ์ เป็นฝ่ายค้าน ที่เหมือนผู้ช่วยพระเอกของม็อบมีเส้น คือ พันธมิตรฯ ก็ได้กล่าวในที่ประชุมสภา เมื่อวันที่ 24 มิถุนา 51 โดยการบันทึกคำต่อคำก็มีเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ต กล่าวถึงเรื่องเขาพระวิหาร
โดย สำนวนโวหารก็ปรากฏมีคำสำคัญอย่างคำว่าพระเอก,หัวใจ เพื่อเป็นโวหาร และวาทศิลป์ให้ผู้คนเข้าใจง่าย ก็ยกข้อโต้แย้งกรณีเขาพระวิหาร และบริบทของเหตุการณ์ช่วงนั้นต่อมา ก็เป็นปัญหาเรื่องการตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 190 เกี่ยวกับเขาพระวิหาร
ซึ่ง กรณีเขาพระวิหาร ก็นำมาสู่ความขัดแย้งของพรมแดนเกิดการปะทะของทหารตามชายแดนในช่วงปีนั้น และผลกระทบต่อเศรษฐกิจชายแดนต่างๆ นานา จนกระทั่ง จากสมัยสมชาย-อภิสิทธิ์ ขึ้นมาเป็นนายกฯ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์นั้น ก็มีตราสัญลักษณ์พระแม่ธรณีบีบมวยผมโยงพุทธฯ
แต่ว่ากลับเพิ่มคนตาย -ปัญหาเสื้อแดง ทั้งที่ทำโครงการฉันรักประเทศไทย(I Love Thailand)และก่อนวันตัดสินคดียุบพรรคฯ แล้วปัญหาเขตแดนของเขาพระวิหารดังกล่าวก็กลับมาอีกครั้ง
เมื่อเรา อ่านนิยาย ยังไม่จบ แล้วอินกับนิยายมากเกิน โดยดูตัวอย่างบทนิยาย ที่มีตัวละครของม็อบมีเส้น เช่น “ลุงจำลอง” ซึ่งไม่ใช่ลุงนวมทอง(4) โดยบทบาทของจำลอง ศรีเมือง คือ “เราคือนักไล่นายกฯ มืออาชีพ ให้มันรู้ไปว่าแผ่นดินนี้เป็นของใคร”พล.ต.จำลองกล่าวว่า
ขอพูดถึง นายประพันธ์ที่พาดพิงว่า ตนนั่งทางในยังรู้เลยว่านายกฯจะแก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้เสียดินแดน ตนไม่ได้นั่งทางใน แต่รู้ว่าสามารถปราบมันได้ ซึ่งก็ได้ถามนายประพันธ์ก่อนขึ้นเวทีว่าชุมนุม 11 ธ.ค. นี้แก้ไขทันใช่มั๊ย นายประพันธ์ก็ตอบว่าทัน ดังนั้นถือว่า 3 วันนี้เป็นการซ้อมใหญ่ก็แล้วกัน
“11 ธ.ค.นี้ครบเครื่อง เครื่องขยายเสียงเต็มที่ มีเวที ดนตรี เป็นไงเป็นกัน ไม่รู้จักพวกเราซะแล้ว นายกฯ คนไหนทำความเสื่อมเสียให้บ้านเมือง เราคือนักไล่นายกฯ มืออาชีพ ให้มันรู้ไปว่าแผ่นดินนี้เป็นของใคร เราไล่มา 3 คนแล้วใช่มั้ย ไล่คนที่ 4 อีกคนจะเป็นยังไง พี่น้องไม่ต้องหวั่นไหว พรุ่งนี้มติสภาฯ ออกมาอย่างไรก็ไม่เป็นไร วันที่ 11 ธ.ค. มาสู้อย่างยืดเยื้อไม่ชนะไม่เลิก ไม่ต้องห่วงแม้จะมีพรก.อะไรก็แล้วแต่ แต่การเสียดินแดนยิ่งใหญ่กว่า” พล.ต.จำลองกล่าวไว้(5)
ทั้ง นี้ บทละครน้ำเน่าแบบนางอิจฉา กำกึ่งดูเหมือนพระรองของประพันธ์ คูณมี ในวันที่พันธมิตรชุมนุมหน้าสภา และ"ประพันธ์ คูณมี" ร้องทหารปฏิวัติอีกรอบ โดยนายประพันธ์ คูณมี แกนนำพันธมิตรได้ขึ้นปราศรัย กล่าวว่าถ้าเป็น ผบ.ทบ. จะปฏิวัติวันนี้เลย ผมพูดอย่างนี้ใครจะมาจับผม
"เขาอยากให้ปฏิวัติเพราะอยากให้เปลี่ยนแปลงบ้านเมือง ให้นักการเมืองชั่วหมดไปจากแผ่นดิน ถ้าเขาปฏิวัติจริงๆ มึงก็มุดหัวหางจุดตูดไปไหนไม่รู้ ถามจริงๆ เถอะที่ติดต่ออาจารย์มหาวิทยาลัยประเทศนั้นประเทศนี้ เตรียมสอนหนังสือหลังหมดอำนาจนั้น ลื้อทำจริงหรือเปล่า ถ้าจริงก็แสดงว่าแม้แต่คุณก็ไม่มั่นใจ"
นายประพันธ์กล่าว มันผิดตรงไหนที่กูอยากให้มีการปฏิวัติ ถ้าไม่มีการปฏิวัติ นายอภิสิทธิ์ก็ยังเป็นเด็กบ่มแก๊สไม่สุก อยู่ตรงไหนไม่รู้ ถ้าไม่มีการปฏิวัติปี 49 นายอภิสิทธิ์ชาตินี้ก็ไม่มีวันเป็นนายกฯ ถ้าไม่มีพันธมิตรฯ อภิสิทธิ์ก็ไม่มีวันเป็นนายกฯ ไฉนจึงพูดจาแบบไม่รู้จักบุญคุณประชาชน นายประพันธ์กล่าวไว้(6)
โดยกระแส ของทหารจะกลับมาหรือไม่ ก็ต้องดูบทบาทตัวละครทหาร เป็นผู้ช่วยของรัฐบาลอภิสิทธิ์ หรือ ทหารเป็นตัวช่วยต่อเติมจิ๊กซอว์ให้ช่องว่างของเรื่องราวเติมเต็ม กับม็อบมีเส้นพันธมิตร
เช่น “ประยุทธ์” ชี้ชุมนุมพันธมิตรฯ เป็นสิทธิตามกฎหมาย นี่เป็นตัวอย่างของตัวละคร กำลังเคลื่อนไหวตามบทบาทอันน่าติดตามอย่างใกล้ชิด เหมือนการอ่านนิยาย แต่ว่า ถ้าม็อบออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง เพราะว่า พรรคประชาธิปัตย์และพรรคร่วมรัฐบาล ดูเหมือนเป็นผู้ร้าย คือ โกหกโดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อบทบาทของผู้ช่วยพระเอกอย่างอภิสิทธิ์ กลายเป็นผู้ร้ายไป
และม็อบมีเส้น คือ พันธมิตร กลับเรียกร้องทหารเป็นผู้ช่วยพระเอก หรือว่า ม็อบมีเส้น ไม่สามารถเป็นพรรคการเมืองใหม่ ที่ประสบชัยชนะ ทำการเลือกตั้งสำเร็จ จึงรับบทนางอิจฉา ให้ทหารเป็นพระเอก ซึ่งม็อบมีเส้น ใช้เส้นอำนาจ เพื่อฆ่านางเอก คือ รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ก็ตายตอนจบ ในที่สุดนั้น ทหาร กลายเป็นลูกพี่ใหญ่ แล้วเรารักลูกพี่ใหญ่ เหมือนนิยาย1984(7)
ดัง นั้น ปัญหาเขตแดนในรัฐธรรมนูญ ทำให้รัฐธรรมนูญตายโดยทหาร ซึ่งผู้เขียน ก็เคยเขียนบทความเกี่ยวกับปัญหาเชื่อมโยงกัมพูชาไปหลายครั้งแล้ว ทำให้กลับไปอ่านเรื่องยกเครื่องเรื่องกองทัพ:ข้อคิดสำหรับกองทัพไทยในศตวรรษ ที่ 21(8) แต่ว่า เราอยู่ในช่วงเวลาของยุคนี้ยังต้องมาระแวงอันตรายของรัฐประหารไม่สิ้นสุดกัน เพราะการเมืองของม็อบมีเส้น จากเขาพระวิหาร ถึงอันตรายที่ชายแดน ซึ่งอาจจะนำไปสู่พรมแดนของความขัดแย้งสู่สงครามทหารตามแนวชายแดนรอบใหม่ และรัฐประหาร
โดยเราต้องการปรับกระบวนทัศน์ ที่มีปัญหาของวัฒนธรรมการอ่าน เหมือนนิยายดังกล่าว ส่งผลต่อรัฐธรรมนูญ ฉบับวัฒนธรรมประชาชนไทย เพราะคนจำไม่ได้ และเราไม่ได้รักรัฐธรรมนูญ เหมือนอ่านนิยายที่เรารัก ก็มีรัฐธรรมนูญมาหลายฉบับเกินไป และวัฒนธรรมของคน ก็เห็นว่ารัฐธรรมนูญ ไม่เสร็จสมบูรณ์ และเรามีปัญหาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อรัฐธรรมนูญเสร็จสมบูรณ์
เมื่อความจริงกับเราใกล้วันปีใหม่ หรือเราใกล้ชิดเส้นชัย สู่ทางออกจากปัญหา?
ผู้ เขียนลองสำรวจหาความรู้ โดยอ่านเรื่องปัญหารัฐธรรมนูญ และการแก้ไขจากตัวอย่างของการอ่านแนวคิดในสิ่งที่ไม่มีในทางแก้ไขปัญหารัฐ ธรรมนูญไทย จากต่างประเทศ ทั้งผู้เขียนยังอ่านเอาเรื่อง อ่านระหว่างบรรทัด และค้นหาวิธีการอ่านรัฐธรรมนูญไทย โดยเข้าใจมุมมองเรื่องหลักการ กระบวนการ และวัฒนธรรม
กรณีunfinished constitution ต่างๆนานา ซึ่งถ้าเราดูตัวอย่างต่างประเทศในการแก้ไขปัญหารัฐธรรมนูญก็แล้ว แต่ปัญหาภายในประเทศของเรา ยังต้องใช้เวลาเป็นเราเรียนรู้ความจริงจาก ยุคคณะราษฎร ก็มีปัญหารัฐธรรมนูญ ในบทเรียนทางประวัติศาสตร์ของเรา ที่สูญเสียค่าใช้จ่าย ต้นทุนทางชุมชน และสูญเสียชีวิตของคนในสังคมเป็นต้นมา
เรา เหมือน“อ่าน”นิยายม็อบมีเส้นอย่างไม่ด่วนใจเร็วสรุปทันที ทำให้จินตนาการรวมหมู่ ต้องการชัยชนะ จึงชวนมาฆ่ารัฐธรรมนูญ โดยเราต้องไม่สร้างวัฒนธรรมมวลชน นำทหารมาแทรกแซงทางการเมือง และม็อบมีเส้นใกล้จบเรื่องการโกหกเป็นนิยายน้ำเน่าเร็วๆยิ่งดี ดังเช่นไม่ชุมนุมวันที่ 11 ธันวา 53 แล้วนั้นเอง
อย่างไรก็ตาม เราต้องมีอิสระ เสรีภาพ ภราดรภาพแห่งพี่น้อง และความยุติธรรม จากความจริงเป็นสากลของโลกเป็นเพื่อนมนุษยชาติร่วมกัน ก็ไม่ให้คนถูกขังคุกหมดอิสระ เสรีภาพ และความยุติธรรม โดนถูกลืมจากรัฐชาติไทย
และความจริง ก็คือ เราต้องร่วมมือสร้างชุมชนจินตนาการของชาติสอดคล้องร่วมกัน และเราต้องการความคิดสร้างสรรค์เพื่อชาติไทย เป็นเส้นทางสำหรับเอามวลมหาประชาชนมาควบคุมทหาร ทำให้ประชาชนเขียนรัฐธรรมนูญสำหรับประชาชน ร่วมสร้างเข้าใกล้เส้นชัยเสร็จสมบูรณ์เพื่อประชาชน
สิ่งนี้เป็นเรื่องความจริงได้ ก็เตรียมยินดีต้อนรับเดือนแห่งความสุข ทั้งเข้มแข็งโดยสุขภาพแข็งแรงสำหรับสวัสดีปีใหม่ของทุกคน
****
อ้างอิง
1.ผู้ เขียนได้ความคิดที่มาของconstitutional fictionsโดยหนังสือเรื่องSome problems of the constitution. by Geoffrey Marshall, Graeme Cochrane และปัญหาร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย ดูเพิ่มเติม วีระ มุสิกพงศ์ เล่าเรื่องบันทึกการเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475
2.ผู้เขียนได้ความคิดทีมาโดย Writing another Thai Constitution amounts to writing a fiction one more time “ A human rights group castigates Coup leaders”
3.ส่วนหนึ่งของความคิดของผู้เขียนได้แรงบันดาลใจที่มาของในกระจก : วรรณกรรมและการเมืองสยามยุคอเมริกัน
4.รูปปั้นลุงนวมทองในการเมืองเชิงสัญลักษณ์ของตุลา 53
5.จำลอง ศรีเมือง: “เราคือนักไล่นายกฯ มืออาชีพ ให้มันรู้ไปว่าแผ่นดินนี้เป็นของใคร”
6.พันธมิตรชุมนุมหน้าสภา "ประพันธ์ คูณมี" ร้องทหารปฏิวัติอีกรอบ
7.ผู้ เขียนได้แรงบันดาลใจอันซับซ้อนโดยเรารักลูกพี่ใหญ่ เหมือนนิยาย1984 ถ้าคนเคยอ่านนิยาย ที่มีBig Brother-พี่เบิ้ม ควบคุมเรา คือ เรารักพี่เบิ้ม โดยที่มาBig Brother-พี่เบิ้มในนิยาย1984 ตอนจบนั้น พระเอก ถูกบรรยายว่า he had won the victory over himself. "He loved Big Brother".
8.สุรชาติ บำรุงสุข ยกเครื่องเรื่องกองทัพ:ข้อคิดสำหรับกองทัพไทยในศตวรรษที่ 21
กวี:รัฐ-ธรรม-นวย
รัฐธรรมนูญ ฉบับอัปลักษณ์
ถูกมือยักษ์ ดึงคลอด ก่อนกำหนด
ทั้งคนเขียน คนร่าง ช่างเลี้ยวลด
จึงงอคด ดุจดั่ง ร่างพิการ
บังคับให้ ใช้ก่อน ตอนเข็นออก
เอาลิ้นหลอก ประชาชน พ่นคำหวาน
รับไปก่อน แล้วผ่อนแก้ แน่ไม่นาน
พวกสามานย์ ขานรับ แล้วกลับคำ
รัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน
ถูกพวกคน ใจสัตว์ รุมกัดยํ่า
ถีบทิ้ง ดิ่งเหว เลวระยำ
ประชาราษฎร์ ตาดำๆ จำต้องทน
ทั้งฉีกทิ้ง ทำแท้ง แกล้งทำคลอด
ก็สืบทอด เลวเถื่อน เหมือนการปล้น
รัฐธรรมนูญ ทูนหัว ความชั่วคน
ประโยชน์ตน ประโยชน์กู เพียงผู้เดียว
จะฉีกทิ้ง หรือแก้ไข ใครได้เปรียบ
ก็ยังเหยียบ หัวคน จนหน้าเขียว
**ธรรมนวย หัวคูณ** หนุนไม้เรียว
มีไว้เคี่ยว ขู่ขัง รังแกคน
อำนาจ อธิปไตย ของไทยราษฏร์
เขียนประกาศ สวยหรู อยู่ข้อต้น
แต่คนใช้ อำนาจกร่าง อยู่ข้างบน
ปวงชน เขียนอ้างไว้ แต่ในนาม
ทั้งเขียน คนร่าง ต่างสอพลอ
เขียนเติมต่อ แตกตุ่ม จนรุ่มร่าม
อ้างตัดสิน แต่ละที นั่งตีความ
สร้างนิยาม กระทบกระทั่ง ที่นั่งใคร
ชาติใด ไร้ซึ่งแล้ว ................ ยุติธรรม
กฏเกณฑ์ คลุมครอบงำ........... คิดรู้
ศักดินา กำหนดนำ............... นอกระบบ
ชนชาตินั้น หลั่งเลือดสู้............ต่อต้าน ยอมพลี
รัฐธรรมนูญนี่นี้.................... คือพยาน
ฉบับใด ได้เบ่งบาน................ หนึ่งบ้าง
ใครสั่ง รัฐประหาร................. มิชอบ
มือใคร ฉีกทิ้งล้าง ..................สว่างแล้ว ดวงตา
โดย Ngaesai 8/12/2010
หมายเหตุ:* รัฐธรรมนวยหัวคูณ* คำคมของวาทตะวัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น